มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ กับการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย สู่การพัฒนาชุมชนท้องถิ่น (ปี 2560-2570)




มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ กับการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย สู่การพัฒนาชุมชนท้องถิ่น (ปี 2560-2570) : กรณีผึ้งชันโรง (อุง)
โดย รองศาสตราจารย์ ดร. ก้าน จันทร์พรหมมา ที่ปรึกษาอธิการบดีฝ่ายวิจัย





แผนกลยุทธ์


แผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย ระยะ 6 ปี (ปีการศึกษา 2565 – 2570) มี 6 ยุทธศาสตร์

ยุทธศาสตร์ที่ 1 : การสร้างบัณฑิตและพัฒนากำลังคนให้มีความเป็นมืออาชีพและมีความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง

      วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ SO1 เพื่อสร้างประสบการณ์การเรียนรู้และสมรรถนะแห่งอนาคตสอดคล้องกับปรัชญา “รู้คิด รู้ธรรม รู้สำเร็จ” (HU DNA)

      มหาวิทยาลัยมุ่งมั่นที่จะผลิตบัณฑิตที่มีคุณลักษณะที่สอดคล้องกับปรัชญาของมหาวิทยาลัย

  • “รู้คิด” (Learn how to think) บัณฑิต ม.หาดใหญ่ ใช้ทักษะทางสมองหรือทักษะทางปัญญา สามารถใช้เหตุผลใน ด้านการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ คิดเชิงบวก และคิดสร้างสรรค์

  • “รู้ธรรม” (คุณธรรม จริยธรรม : Learn how to uphold morality) บัณฑิต ม.หาดใหญ่ มีคุณลักษณะที่เกี่ยวกับการประพฤติปฏิบัติ รวมถึงการคิดชอบในทางที่ถูกต้อง ดีงาม ก่อเกิดประโยชน์ต่อตนเองและส่วนร่วม และสามารถควบคุมตนเองในการประพฤติปฏิบัติ และปรับตัวเพื่อความสงบสุขในการอยู่ร่วมกันได้อย่างเป็นสุขในสังคม ซึ่งประกอบด้วย 3 ด้าน 1) ความซื่อสัตย์สุจริต 2) ความมีระเบียบวินัย และ 3) ความเพียรพยายาม

  • “รู้สำเร็จ” (Learn how to be successful) บัณฑิต ม.หาดใหญ่ มีคุณลักษณะที่เกี่ยวกับความสำเร็จทั้งในด้านวิชาการ การสื่อสาร โดยนำเทคโนโลยีต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ โดยรู้สำเร็จ ประกอบด้วย 4 ด้าน 1) ด้านดิจิทัล การสื่อสารและการทำงานร่วมกัน 2) ด้านการเรียนรู้ได้ต่อเนื่อง ประกอบอาชีพได้ ทำงานได้อย่างหลากหลาย 3) ด้านการพัฒนา และเป็นผู้ประกอบการ และ 4) ด้านรู้ลึก รู้รอบ

      วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ SO3  เป็นผู้นำและแพลทฟอร์มการเรียนรู้ตลอดชีวิต ทั้งในระดับบุคคล องค์กร ชุมชน และเมือง

      มหาวิทยาลัยมุ่งเน้นการพัฒนาหลักสูตร และส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life long leaning) โดยการออกแบบพัฒนา Platform เพื่อส่งเสริมทักษะใหม่ (New Skills) และการพัฒนาทักษะแห่งอนาคต (Future Skills) การสร้างเครือข่ายความร่วมมือการเรียนรู้ตลอดชีวิตร่วมกับสถาบันการศึกษาและหน่วยงานภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนากำลังคนสู่ตลาดแรงงาน

 


ยุทธศาสตร์ที่ 2 : การวิจัยและการบริการวิชาการเพื่อตอบ โจทย์การพัฒนาสังคมและชุมชนอย่างยั่งยืนสอดคล้องกับความเชี่ยวชาญของมหาวิทยาลัย

      วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ SO2 สร้างงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อบูรณาการการเรียนการสอนและการบริการวิชาการ เพื่อสังคม ชุมชน และมหาวิทยาลัยเชิงพื้นที่

      โดยมีวัตถุประสงค์ในการเน้นการเพิ่มงบประมาณสัดส่วนทุนวิจัยที่สนับสนุนจากภายนอก คุณภาพงานวิจัย งานสร้างสรรค์ งานวิจัยเชิงประยุกต์และการพัฒนานวัตกรรมของอาจารย์และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ให้มีการนำผลการวิจัยไปใช้อย่างเป็นรูปธรรมและเชิงพาณิชย์ ด้วยระบบการบริหารจัดการที่ดีที่เอื้อต่อการผลิตผลงานที่มีคุณภาพ โดยมีความสอดคล้องกับบริบทของมหาวิทยาลัย สร้างมหาวิทยาลัยให้เป็นแหล่งวิชาการชั้นสูง โดยการสร้างความองค์ความรู้ใหม่ การนำวิจัยไปสู่ความเป็นเลิศทางด้านวิชาการ ที่ทำให้ผลงานของคณาจารย์และนักศึกษาเป็นที่ยอมรับในระดับประเทศ โดยมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ วางแผนพัฒนาความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ โดยมุ่งพัฒนาผลักดันชุมชน เพื่อการเป็น “หลักในถิ่น และเป็นแหล่งเรียนรู้ มุ่งสู่ความเป็นสากล”



ยุทธศาสตร์ที่ 3 : การบริหารจัดการด้านการเงิน - งบประมาณ เพื่อให้มหาวิทยาลัยมีความอย่างยั่งยืน

      วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ SO6  เพื่อสร้างคุณค่าใหม่ (Value Proposition) และรายได้ช่องทางใหม่ (Revenue Streams)

      ด้วยการสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานราชการและภาคเอกชน พัฒนาหลักสูตรระยะสั้น ระยะยาว เพื่อตอบโจทย์นโยบายรัฐบาล พัฒนาบุคลากรในองค์กร   ต่าง ๆ รวมถึงการสร้างหลักสูตรเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแก่ลูกค้ากลุ่มใหม่ ๆ นอกจากนี้ ยังหาแนวทางให้เกิดรายได้จากการบริหารจัดการทรัพย์สินที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์ ลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน รวมทั้งดำเนินการด้วยหลักเศรษฐกิจพอเพียง มาลดรายจ่าย เพิ่มรายได้



ยุทธศาสตร์ที่ 4 : มหาวิทยาลัยได้รับการรับรองมาตรฐานระดับนานาชาติ

      วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ SO4  มหาวิทยาลัยได้รับการรับรองมาตรฐานระดับนานาชาติ

      มหาวิทยาลัยมุ่งเน้นมาตรฐานการบริหารจัดการเพื่อเข้าสู่ระดับสากล ระดับสถาบัน คณะหลักสูตร และมาตรฐานการบริหารจัดการเพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs)


ยุทธศาสตร์ที่ 5 : การบริหารจัดการมหาวิทยาลัยให้มีความคล่องตัว ยืดหยุ่น ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในยุค Digital Disruption

      วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ SO5  เพื่อออกแบบและปรับโครงสร้างองค์กรให้มีความยืดหยุ่น มีวัฒนธรรมส่งเสริมนวัตกรรมและมีทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งการร่วมลงทุนกับองค์กรภายนอกที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และพันธกิจของมหาวิทยาลัย

      มหาวิทยาลัยมุ่งเน้นที่จะสร้างความผูกพัน ความพึงพอใจและความสุขในการทำงาน มุ่งพัฒนาสมรรถนะอาจารย์และบุคลากรให้มีความเป็นมืออาชีพ และทันต่อการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจและเทคโนโลยี และกระตุ้นให้บุคลากรแสดงศักยภาพของตนเองให้เต็มที่เพื่อองค์กร และมุ่งเน้นในการสร้างบรรยากาศเป็น Digital Campus Life ด้วยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การใช้งานระบบสารสนเทศ และการสื่อสารออนไลน์ การเพิ่มประสิทธิภาพ ประสิทธิผลการทำงาน โดยวางระบบ Business Intelligence ที่ช่วยในการตัดสินใจสำหรับผู้บริหาร การส่งเสริมทักษะทางด้าน Digital Literacy รวมถึงการเตรียมความพร้อม ประสิทธิภาพ ความปลอดภัยและเสถียรภาพทางด้าน ICT เพื่อก้าวมาเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนชั้นนำด้าน Digital University



ยุทธศาสตร์ที่ 6 : การสร้างคุณค่าและความเข้มแข็งของแบรนด์

      วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ SO7  เพื่อเป็น Top of mind แบรนด์ในดวงใจของนักศึกษาภาคใต้

      มหาวิทยาลัยมุ่งบริหารจัดการ ดำเนินการอย่างมีคุณภาพเพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพออกไปสร้างสรรค์สังคม และเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่ดี มีคุณภาพ ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของประเทศและสังคมโลก อีกทั้งบุคลากรร่วมกันผลิตผลงานเพื่อก่อให้เกิดการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ที่ตอบโจทย์การพัฒนาภาคใต้ตอนล่างและประเทศ และคาดหวังต่อการได้สร้างการรับรู้จากสังคมในสิ่งที่มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง