shape
shape
shape
shape

หลักการและเหตุผล

สถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ได้รับการยอมรับในสังคมมาอย่างต่อเนื่องว่ามีบทบาทที่สำคัญอย่างยิ่งในการแบ่งเบาภาระการจัดการอุดมศึกษาของรัฐได้อย่างมีประสิทธิภาพ บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษาเอกชน เป็นที่ยอมรับว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถและเป็นที่ต้องการของสังคมมากยิ่งขึ้นเป็นลำดับ เป็นการสะท้อนให้เห็นได้ว่าบุคลากรของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวข้องในการผลิตบัณฑิตทั้งหลายเหล่านั้นไม่ว่าจะเป็นผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ ฯลฯ ต่างเป็นผู้มีความสามารถและปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เพื่อเป็นการยกย่องและเชิดชูเกียรติบุคลากรของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่มีผลงานดีเด่นสมาคมสถาบัน อุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย จึงเห็นสมควรจัดโครงการคัดเลือกอาจารย์ดีเด่น และนักวิจัยดีเด่นของสมาคมสถาบัน อุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยขึ้นเป็นประจำทุกปี ทั้งนี้เพื่อเป็นการประกาศเกียรติคุณและมอบรางวัลเกียรติยศให้กับบุคลากรดีเด่นของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน

วัตถุประสงค์ของโครงการ

1. เพื่อยกย่องและเชิดชูเกียรติบุคลากรของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่สร้างคุณประโยชน์ให้แก่สถาบันและประเทศชาติโดยร่วม
2. เพื่อส่งเสริมให้มีการค้นคว้าและปรับปรุงการเรียนการสอนและการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
3. เพื่อส่งเสริมศรัทธาและความเชื่อถือ อันนำมาซึ่งภาพพจน์ที่ดีต่อสถาบันอุดมศึกษาเอกชน

testimonial
testimonial
testimonial

คุณสมบัติและผลงานของบุคลากรดีเด่น

ผู้ได้รับการคัดเลือกบุคลากรดีเด่นต้องมีคุณสมบัติและผลงาน ดังนี้

บุคลากรดีเด่นด้านวิชาการ

คุณสมบัติทั่วไปของผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นอาจารย์ดีเด่น

1. เป็นอาจารย์ประจำที่ปฏิบัติงานอยู่ในสถาบันซึ่งเป็นสมาชิกของสมาคมสถาบันอุดม ศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ไม่จำกัดสัญชาติ รวมแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี ทั้งนี้ โดยนับถึงวันสถาปนาสมาคมฯ (วันที่ 18 พฤศจิกายนของแต่ละปี)
2. เป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรมซึ่งเป็นที่ประจักษ์ในสังคม
3. เป็นผู้ไม่เคยได้รับรางวัลบุคลากรดีเด่นในประเภทเดียวกันมาก่อน
4. เป็นผู้อุทิศตนเพื่อการเรียนการสอนให้ศิษย์มีความรู้ ความเข้าใจในเนื้อหาวิชาที่สอนอย่างแท้จริง สามารถประยุกต์กระบวนการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการสมัยใหม่
5. เป็นผู้ที่มีผลงานด้านวิจัย การบริการวิชาการและการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่อง



คุณสมบัติเฉพาะของผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นอาจารย์ดีเด่น

1. เป็นอาจารย์ที่มีชั่วโมงการสอนไม่น้อยกว่า 45 ชั่วโมงต่อปีการศึกษาตามรายวิชาในหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนฯ ไม่จำกัดสัญชาติ เป็นระยะเวลา 5 ปีการศึกษา
2. มีผลงานทางวิชาการที่มีคุณภาพขณะที่เป็นบุคลากรของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน และผลงานได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารและสื่ออื่น ๆ ที่เป็นที่ยอมรับในสาขานั้น ๆ มาแล้วไม่เกิน 5 ปีการศึกษาที่ผ่านมา ผลงานทางวิชาการ ได้แก่
     2.1 งานวิจัยระดับนานาชาติอย่างน้อย 1 เรื่อง หรือ ระดับชาติอย่างน้อย 2 เรื่อง หรือระดับสถาบันอย่างน้อย 3 เรื่อง
     2.1 งานวิชาการอื่นที่เทียบเท่า ได้แก่ ผลงานแต่ง เรียบเรียง แปลตำรา เอกสาร ประกอบการสอน ผลงานวิจัย บทความทางวิชาการ ผลงานวิชาการใน ลักษณะอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอน ฯลฯ ทั้งนี้ไม่นับผลงาน ที่เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญา หรือรับประกาศนียบัตรใด ๆ



คุณสมบัติทั่วไปของผู้ได้รับการเสนอชื่อสำหรับนักวิจัยรุ่นใหม่

1. เป็นอาจารย์ประจำที่ปฏิบัติงานอยู่ในสถาบันซึ่งเป็นสมาชิกของสมาคมสถาบัน อุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ไม่จำกัดสัญชาติ รวมแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปีติดต่อกัน โดยนับตั้งแต่วันที่เริ่มปฏิบัติงานจนถึงวันที่สถาบันเสนอชื่อเข้ารับการพิจารณา
2. มีอายุไม่เกิน 40 ปีบริบูรณ์ โดยนับถึงวันสถาปนาสมาคมฯ (วันที่ 1 กันยายนของแต่ละปี)
3. เป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรมซึ่งเป็นที่ประจักษ์ในสังคม
4. เป็นผู้ไม่เคยได้รับรางวัลนักวิจัยรุ่นใหม่ของสมาคมฯ มาก่อน
5. เป็นผู้อุทิศตนเพื่อการเรียนการสอนให้ศิษย์มีความรู้ ความเข้าใจในเนื้อหาวิชาที่สอนอย่างแท้จริง สามารถประยุกต์กระบวนการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความเจริญ ก้าวหน้าทางวิทยาการสมัยใหม่



คุณสมบัติเฉพาะของผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นนักวิจัยรุ่นใหม่

1. เป็นอาจารย์ที่มีชั่วโมงการสอนไม่น้อยกว่า 45 ชั่วโมงต่อปีการศึกษาตามรายวิชาในหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนฯ
2. มีผลงานทางวิชาการที่มีคุณภาพขณะที่เป็นบุคลากรของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน และผลงานได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารและสื่ออื่น ๆ ที่เป็นที่ยอมรับในสาขานั้นมาแล้วไม่เกิน 5 ปี การศึกษาที่ผ่านมา (ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2560 – วันที่ 30 สิงหาคม 2564) ผลงานทางวิชาการ ได้แก่
     2.1 งานวิจัยระดับนานาชาติ หรือระดับชาติอย่างน้อย 1 เรื่อง
     2.1 งานวิชาการอื่นที่เทียบเท่า ได้แก่ ผลงานแต่ง เรียบเรียง แปลตำรา เอกสาร ประกอบการสอน ผลงานวิจัย บทความทางวิชาการ ผลงานวิชาการใน ลักษณะอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอน ฯลฯ ทั้งนี้ ไม่นับผลงาน ที่เป็น ส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญา หรือรับประกาศนียบัตรใด ๆ

บุคลากรดีเด่นด้านสนับสนุนวิชาการ

ผู้ได้รับการคัดเลือกบุคลากรดีเด่นด้านสนับสนุนวิชาการต้องมีคุณสมบัติและผลงาน ดังนี้

คุณสมบัติทั่วไปของบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อ

ด้านสนับสนุนวิชาการระดับผู้บริหารและระดับปฏิบัติการ

1. เป็นบุคลากรที่ปฏิบัติงานอยู่ในสถาบันที่เสนอชื่อซึ่งเป็นสมาชิกของสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ฯ ไม่จำกัดสัญชาติ รวมแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีต่อเนื่อง ทั้งนี้ โดยนับตั้งแต่วันที่เริ่มปฏิบัติงาน จนถึงวันที่สถาบันเสนอชื่อเข้ารับการพิจารณา
2. เป็นผู้ไม่เคยได้รับรางวัลบุคลากรดีเด่นของสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่ง ประเทศไทยฯ ในประเภทเดียวกันมาก่อน



ด้านกิจการนักศึกษาระดับผู้บริหาร

1. ผู้บริหาร หมายถึง ผู้ที่ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ ผู้จัดการ หรือเทียบเท่าด้านกิจการนักศึกษาหรือด้านศิลปวัฒนธรรม (มีหนังสือรับรองจากสถาบัน)
2. เป็นบุคลากร ไม่จำกัดสัญชาติ ซึ่งปฏิบัติงานอยู่ในสถาบันติดต่อกันไม่น้อยกว่า 3 ปี โดยนับตั้งแต่วันที่เริ่มปฏิบัติงานจริงถึงวันที่ 30 สิงหาคม 2564
3. ไม่เคยได้รับรางวัลบุคลากรดีเด่นของสสอท. ในประเภทเดียวกันมาก่อน
4. สร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณค่า มีประโยชน์ และเป็นที่ยอมรับของหน่วยงานสถาบันหรือสังคมหรือประเทศชาติมาแล้วไม่เกิน 5 ปี



ด้านกิจการนักศึกษาระดับผู้ปฏิบัติการ

1. ปฏิบัติงานอยู่ในสถาบันต้นสังกัดซึ่งเป็นสมาชิกสสอท. ติดต่อกันไม่น้อยกว่า 3 ปีโดยนับตั้งแต่วันที่เริ่มปฏิบัติงานจริงถึงวันที่ 30 สิงหาคม 2564
2. ไม่เคยได้รับรางวัลบุคลากรดีเด่นของสสอท. ในประเภทเดียวกันมาก่อน
3. สร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณค่า มีประโยชน์ และเป็นที่ยอมรับของหน่วยงานถาบันหรือสังคมหรือประเทศชาติมาแล้วไม่เกิน 5 ปี

testimonial
testimonial

คุณสมบัติเฉพาะ

ด้านกลุ่มงานสนับสนุนทางวิชาการระดับผู้บริหารและระดับปฏิบัติการ

1) เป็นบุคลากรที่มีความสามารถและเชี่ยวชาญในหน้าที่ที่ปฏิบัติ
2) มีผลงานสนับสนุนวิชาการที่มีคุณภาพขณะที่เป็นบุคลากรของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
3) ผลงานสนับสนุนวิชาการใช้ประกอบการทำงานให้เกิดมีประสิทธิภาพประสิทธิผล หรือมีประโยชน์ต่อหน่วยงานหรือสถาบัน และ/หรือสังคมโดยรวม



ด้านกิจการนักศึกษาระดับผู้บริหาร

1) วางแผนกลยุทธ์และบริหารจัดการงานกิจการนักศึกษา
2) บริหารจัดการโครงการการเรียนรู้นอกห้องเรียนหรือนอกมหาวิทยาลัยหรือนอก ประเทศ
3) บริหารจัดการประเมินแผนงานกิจการนักศึกษา
4) สร้างองค์ความรู้ด้านกิจการนักศึกษาในรูปแบบงานวิจัยหรือบทความวิชาการและ/ หรืองานสร้างสรรค์อื่นๆ
5) บริหารจัดการสร้างกลไกการดำเนินงานเพื่อพัฒนางานกิจการนักศึกษาอย่างมี ประสิทธิภาพและประสิทธิผล



ด้านกิจการนักศึกษาระดับผู้ปฏิบัติการ

1. ปฏิบัติหน้าที่รับผิดชอบงานกิจกรรมพัฒนานักศึกษาด้านใดด้านหนึ่งหรือบูรณาการ ดังต่อไปนี้
     1.1 กิจกรรมพัฒนานักศึกษา
         1.1.1 กิจกรรมด้านวิชาการ
         1.1.2 กิจกรรมด้านกีฬาหรือส่งเสริมสุขภาพ
         1.1.3 กิจกรรมด้านนันทนาการ
         1.1.4 กิจกรรมด้านส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และ/หรือ
     1.2 กิจกรรมด้านสวัสดิการและสวัสดิภาพนักศึกษาและให้คำปรึกษา
2. เป็นผู้ปฏิบัติงานหลักในโครงการที่เปิดโอกาสการเรียนรู้นอกห้องเรียน และ/หรือ นอกมหาวิทยาลัย หรือนอกประเทศ
3. สร้างองค์ความรู้ด้านกิจการนักศึกษาในรูปแบบงานวิจัยหรือบทความวิชาการ และ/ หรืองานสร้างสรรค์อื่นๆ
4. สร้างกลไกการดำเนินงานเพื่อพัฒนางานกิจการนักศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพและ ประสิทธิผล



ด้านศิลปวัฒนธรรมระดับผู้บริหาร

1) กำหนดวิสัยทัศน์ นโยบาย วางแผนกลยุทธ์และบริหารจัดการงานด้าน ศิลปวัฒนธรรม
2) บริหารจัดการโครงการเพิ่มโอกาสการเรียนรู้นอกห้องเรียนหรือนอกมหาวิทยาลัย และ/หรือนอกประเทศ
3) บริหารจัดการประเมินแผนงานกิจการนักศึกษา
4) สร้างองค์ความรู้ด้านกิจการนักศึกษาในรูปแบบงานวิจัยหรือบทความวิชาการและ/ หรืองานสร้างสรรค์อื่นๆ
5) บริหารจัดการสร้างกลไกการดำเนินงานเพื่อพัฒนางานกิจการนักศึกษาอย่างมี ประสิทธิภาพและประสิทธิผล



ด้านศิลปวัฒนธรรมระดับผู้ปฏิบัติการ

1. ปฏิบัติหน้าที่รับผิดชอบงานกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรม และ/หรือบูรณาการร่วมกับกิจกรรมอื่นๆ โดยเน้นความสำคัญกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรม
2. เพิ่มโอกาสการเรียนรู้นอกห้องเรียนหรือนอกมหาวิทยาลัย และ/หรือนอกประเทศ
3. ประเมินการจัดกิจกรรมของนักศึกษา (Student Engagement)
4. สร้างองค์ความรู้ด้านกิจการนักศึกษาในรูปแบบงานวิจัยหรือบทความวิชาการ และ/ หรืองานสร้างสรรค์อื่นๆ
5. สร้างกลไกการดำเนินงานเพื่อพัฒนางานกิจการนักศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพและ ประสิทธิผล

testimonial
testimonial
testimonial

ผลงานที่นำเสนอ


ด้านกลุ่มงานสนับสนุนทางวิชาการระดับผู้บริหารและระดับปฏิบัติการ


ผลงานที่เสนอเพื่อประกอบการพิจารณา เป็นผลงานวิชาการตามเกณฑ์การประเมิน คุณภาพภายในของสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (ยกเว้นรายงานสืบเนื่องจากการประชุม วิชาการ) ซึ่งเป็นผลงานภายใน 5 ปี การศึกษาที่ผ่านมา (ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2560 – วันที่ 30 สิงหาคม 2564) ได้แก่

1) ผลงานที่ได้รับการจดอนุสิทธิบัตรหรือสิทธิบัตร
2) บทความวิจัยหรือบทความวิชาการที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่ปรากฏในฐานข้อมูล TCI
3) บทความวิจัยหรือบทความวิชาการที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่ปรากฏในฐานข้อมูลระดับนานาชาติตามประกาศก.พ.อ. หรือระเบียบคณะกรรมการการอุดมศึกษาว่าด้วย หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ พ.ศ.2556
4) ผลงานวิชาการรับใช้สังคมที่ได้รับการประเมินผ่านเกณฑ์การขอตำแหน่งทางวิชาการแล้ว
5) ผลงานวิจัยที่หน่วยงานหรือองค์กรระดับชาติว่าจ้างให้ดำเนินการ
6) ผลงานค้นพบพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ ที่ค้นพบใหม่และได้รับการจดทะเบียน
7) ตำราหรือหนังสือหรืองานแปลที่ได้รับการประเมินผ่านเกณฑ์การขอตำแหน่งทางวิชาการแล้ว หรือผ่านการพิจารณาตามหลักเกณฑ์การประเมินตำแหน่งทางวิชาการ แต่ไม่ได้นำมาขอรับการประเมินตำแหน่งทางวิชาการ
8) ผลงานสร้างสรรค์ที่ได้รับการเผยแพร่ในระดับชาติ
9) ผลงานสร้างสรรค์ที่ได้รับการเผยแพร่ในระดับความร่วมมือระหว่างประเทศ
10) ผลงานสร้างสรรค์ที่ได้รับการเผยแพร่ในระดับภูมิภาคอาเซียน/นานาชาติ



หมายเหตุ

งานสร้างสรรค์ หมายถึง ผลงานศิลปะและสิ่งประดิษฐ์ทางศิลปะประเภทต่างๆ ที่มีความเป็นนวัตกรรมโดยมีการศึกษาค้นคว้าอย่างเป็นระบบที่เหมาะสมตามประเภทของงานศิลปะซึ่งมีแนวทางการทดลองหรือการพัฒนาจากแนวคิด สร้างสรรค์เดิม เพื่อเป็นต้นแบบหรือความสามารถในการบุกเบิกศาสตร์อันก่อให้เกิดคุณค่าทางสุนทรีและคุณประโยชน์ที่เป็นที่ยอมรับในวงวิชาชีพตามการจัดกลุ่มศิลปะของอาเซียน งานสร้างสรรค์ทางศิลปะ ได้แก่
(1) ทัศนศิลป์ (Visual Arts) ประกอบด้วย ผลงานด้านจิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ ภาพถ่ายภาพยนตร์ สื่อประสม สถาปัตยกรรมและงานออกแบบประเภทอื่นๆ
(2) ศิลปะการแสดง (Performance Arts) ประกอบด้วย ดุริยางคศิลป์ นาฏศิลป์ รวมทั้งการแสดงรูปแบบต่างๆ
(3) วรรณศิลป์ (Literature) ซึ่งประกอบด้วยบทประพันธ์และกวีนิพนธ์รูปแบบต่างๆ

ผลงานวิชาการรับใช้สังคม หมายถึงผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมหรือท้องถิ่นที่ เกิดขึ้นโดย ความใช้ความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาอย่างน้อยหนึ่งสาขาวิชาและปรากฏผลที่สามารถประเมินได้เป็น รูปธรรมโดยประจักษ์ต่อสาธารณะ



ผลงานบุคลากรดีเด่นด้านสนับสนุนวิชาการ

ผลงานสนับสนุนวิชาการได้แก่
1) เอกสารคำแนะนำ คู่มือการปฏิบัติในการให้บริการ หรือ
2) ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน หรือ
3) ผลงานร่วมวิจัยที่สนับสนุนวิชาการ บทความวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน หรือ
4) บทความสนับสนุนวิชาการ หรือผลงานลักษณะอื่นที่สามารถประเมินได้ ทั้งนี้ไม่นับผลงานที่ทำเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญาหรือรับประกาศนียบัตรใด ๆ



ผู้มีสิทธิ์ได้รับการเสนอชื่อ

1 ผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อเป็นบุคลากรดีเด่นด้านวิชาการต้องไม่ดำรงตำแหน่งดังต่อไปนี้
         1.1 อธิการบดี
         1.2 รองอธิการบดี/ผู้ช่วยอธิการบดี
         1.3 กรรมการผู้ตัดสิน
2 ผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อเป็นบุคลากรดีเด่นด้านสนับสนุนวิชาการ / บุคลากรดีเด่นด้านกิจการนักศึกษาต้องไม่ดำรงตำแหน่งดังต่อไปนี้
         2.1 อธิการบดี
         2.2 รองอธิการบดี/ผู้ช่วยอธิการบดี/คณบดี
         2.3 กรรมการผู้ตัดสิน



วิธีการคัดเลือก

1 สมาคมฯ ประชาสัมพันธ์โครงการคัดเลือกบุคลากรดีเด่นถึงสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่เป็นสมาชิกของสสอท.ทุกแห่ง
2 ผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแต่ละสถาบันเสนอชื่อพร้อมแนบแบบประวัติและผลงานผู้ที่มีคุณสมบัติดีเด่นในแต่ละประเภทในสถาบันของตน (เอกสารประกอบหมายเลข 1 หรือหมายเลข 2 แล้วแต่กรณี) ส่งมายังสมาคมฯ ภายในวันที่ 25 กันยายน 2564
3 เกณฑ์การตัดสินจะพิจารณาจากผลงานของผู้สมัครตามเกณฑ์ที่กำหนด
4 คณะกรรมการฝ่ายพัฒนาและนวัตกรรมอุดมศึกษาร่วมกับคณะกรรมการฝ่ายวิชาการฯและคณะกรรมการฝ่ายกิจการนักศึกษา สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนฯ ทำหน้าที่พิจารณากลั่นกรองแล้วนำเสนอผู้สมควรได้รับรางวัลต่อคณะกรรมการบริหารสมาคมฯ ภายในเดือนตุลาคม 2563
5 ผลการตัดสินของคณะกรรมการบริหารสมาคมฯ ถือเป็นที่สิ้นสุด
6 สมาคมฯ อาจงดให้รางวัลหากผลการพิจารณาไม่มีผู้เหมาะสม



รางวัล

รางวัลประกอบด้วย
ใบประกาศเกียรติคุณ และอื่นๆตามมติคณะกรรมการ



เกณฑ์การตัดสิน

พิจรณาตามประเภทผลงานที่นำเสนอ



หมายเหตุ

สถาบันสามารถส่งคัดเลือกประเภทละ 1 คน

นักศึกษาดีเด่น

ลักษณะของรางวัลแต่ละประเภท

ประเภทวิชาการดีเด่น

มอบให้แก่นักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี ภาคปกติ ชั้นปีที่ 2 ขึ้นไปของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน และนักศึกษาผู้นั้นต้องศึกษาอยู่ในสถาบันที่เสนอผลงานนั้นมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปีการศึกษา และไม่เคยได้รับรางวัลจากสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยมาก่อน



ประเภทวิทยานิพนธ์ดีเด่น

มอบให้แก่ผู้สำเร็จการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนมาแล้วไม่เกิน 2 ปีการศึกษา



ประเภทกิจกรรมดีเด่น

มอบให้แก่นักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี ภาคปกติ ชั้นปีที่ 2 ขึ้นไป ของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน และนักศึกษาผู้นั้นต้องศึกษาอยู่ในสถาบันที่เสนอผลงานนั้นมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปีการศึกษา และไม่เคยได้รับรางวัลจากสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยฯ มาก่อน



ประเภทศิลปวัฒนธรรมดีเด่น

มอบให้แก่นักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี ภาคปกติ ชั้นปีที่ 2 ขึ้นไปของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน และนักศึกษาผู้นั้นต้องศึกษาอยู่ในสถาบันที่เสนอผลงานนั้นมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 1 ปีการศึกษา และไม่เคยได้รับรางวัลจากสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยฯ มาก่อน



คุณสมบัติของนักศึกษาที่มีสิทธิเสนอผลงาน

ประเภทวิชาการดีเด่น

มอบให้แก่นักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี ภาคปกติ ชั้นปีที่ 2 ขึ้นไปของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ไม่จำกัดสัญชาติ และนักศึกษาผู้นั้นต้องศึกษาอยู่ในสถาบันที่เสนอผลงานนั้นมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปีการศึกษา และไม่เคยได้รับรางวัลจากสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยมาก่อน นักศึกษาต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
         (1) มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPA) ไม่ต่ำกว่า 3.00
         (2) มีผลงานทางวิชาการดีเด่นระดับชาติหรือนานาชาติ
         (3) มีความประพฤติที่แสดงถึงการเป็นผู้ที่มีคุณธรรมและจริยธรรม รวมถึงการบำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคม



ประเภทวิทยานิพนธ์ดีเด่น

มอบให้แก่ผู้สำเร็จการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนมาแล้วไม่เกิน 2 ปีการศึกษา ไม่จำกัดสัญชาติ นักศึกษาต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
         (1) มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPA) ไม่ต่ำกว่า 3.50
         (2) ได้รับการประเมินคุณภาพวิทยานิพนธ์โดยสถาบันต้นสังกัดอยู่ในระดับดีมาก / ดีเด่น / ดีเยี่ยม
         (3) วิทยานิพนธ์ (ภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ) นั้นต้องมีการนำผลงานวิจัย/ งานสร้างสรรค์ไปเผยแพร่อย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้
         (4) มีการตีพิมพ์หรือได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับชาติหรือระดับนานาชาติ หรือ
         (5) มีการเผยแพร่ในระดับชาติหรือระดับนานาชาติ หรือ
         (6) ได้รับอนุสิทธิบัตรหรือสิทธิบัตรและเป็นผลงานของนักศึกษาเท่านั้น



คุณสมบัติเฉพาะ

ด้านกิจกรรม ทั้งประเภทบุคคลและประเภททีม

1. มีผลงานด้านกิจกรรม หมายถึงกิจกรรมนักศึกษา “นอกชั้นเรียน” และ/หรือ “นอกหลักสูตร” และ/หรือ “เสริมหลักสูตร” ในด้านใดด้านหนึ่งหรือบูรณาการดังต่อไปนี้
         1.1 กิจกรรมพัฒนานักศึกษา
                  1.1.1 กิจกรรมด้านวิชาการ
                  1.1.2 กิจกรรมด้านกีฬาหรือส่งเสริมสุขภาพ
                  1.1.3 กิจกรรมด้านบำเพ็ญประโยชน์จิตอาสาอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
                  1.1.4 กิจกรรมด้านนันทนาการ
                  1.1.5 กิจกรรมด้านส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และ/หรือ
2. มีผลงานด้านกิจกรรมที่แสดงถึงทักษะการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ (กระบวนการ PDCA)
3. มีผลงานด้านกิจกรรมที่แสดงถึงทักษะการทำงานเป็นทีม การมีส่วนร่วมหรือเชื่อมโยงเครือข่ายกิจกรรม ทั้งในและนอกมหาวิทยาลัย
4. มีผลงานกิจกรรมที่แสดงถึงการสร้างสรรค์ เกิดประโยชน์และมีความยังยืน
5. มีผลงานกิจกรรมที่แสดงถึงทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) และสร้างเครือข่ายสังคมออนไลน์ได้ อย่างสร้างสรรค์และเหมาะสม
6. มีผลงานกิจกรรมที่ได้รับการยอมรับในสถาบันหรือสังคมหรือประเทศชาติ



ด้านศิลปวัฒนธรรม ทั้งประเภทบุคคลและประเภททีม

1. มีผลงานกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมหรือบูรณาการกับกิจกรรมด้านอื่นๆ โดยเน้นความสำคัญกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรม
2. มีผลงานด้านศิลปวัฒนธรรมที่แสดงถึงทักษะการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ (กระบวนการ PDCA)
3. มีผลงานด้านกิจกรรมศิลปวัฒนธรรมที่แสดงถึงทักษะการทำงานเป็นทีมการมีส่วนร่วมหรือเชื่อมโยง เครือข่ายกิจกรรมทั้งในและนอกมหาวิทยาลัย
4. มีผลงานกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมที่แสดงถึงการสร้างสรรค์ เกิดประโยชน์ มีความยังยืน
5. มีผลงานกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมที่แสดงถึงทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) และเครือข่าย สังคม (Social Media) ได้อย่างเหมาะสม สร้างสรรค์
6. มีผลงานกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมที่ได้รับการยอมรับในสถาบันและสังคมโดยรวม



วิธีการและขั้นตอนการเสนอผลงาน

นักศึกษาที่ประสงค์จะเสนอผลงานเพื่อพิจารณาคัดเลือกให้ได้รับรางวัลนักศึกษาดีเด่นในประเภทต่าง ๆ ให้ปฏิบัติตามวิธีการและขั้นตอน ดังต่อไปนี้ (โดยสถาบันเสนอชื่อผู้เข้ารับการคัดเลือกในนามสถาบันประเภทละ 1 คนเท่านั้น)
วิธีการ
(1) นักศึกษาเสนอประวัติและผลงานตามแบบฟอร์มที่กำหนดไว้สำหรับรางวัลแต่ละประเภท
(2) สถาบันอุดมศึกษาเอกชนตรวจสอบประวัติและผลงานของนักศึกษาตามเอกสาร(1) และเสนอเรื่องให้คณะกรรมการฝ่ายพัฒนาและนวัตกรรมอุดมศึกษา ของสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยฯ พิจารณาดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในข้อ 5.2.1 เพื่อเสนอคณะกรรมการบริหารสมาคมพิจารณาอนุมัติต่อไป
ขั้นตอน
ระดับสถาบันการศึกษา
(1) ให้นักศึกษาที่มีคุณสมบัติครบถ้วน กรอกข้อมูลเสนอผลงานตามแบบที่กำหนด
(2) ให้สถาบันการศึกษาตรวจสอบผลงานและหลักฐาน แล้วส่งข้อมูลไปยังคณะกรรมการฝ่ายพัฒนาและนวัตกรรมอุดมศึกษาของสมาคมฯ ภายในกรอบเวลาที่กำหนด ระดับสมาคม
(1) สมาคม ฯ มอบหมายให้คณะกรรมการฝ่ายพัฒนาและนวัตกรรมอุดมศึกษา คณะกรรมการฝ่ายวิชาการและประกันคุณภาพการศึกษา และคณะกรรมการฝ่ายกิจการนักศึกษา พิจารณาผลงานของนักศึกษาที่สถาบันการศึกษาเสนอมาเพื่อรับรางวัลนักศึกษาดีเด่นประเภทต่างๆ ของสมาคมฯ
(2) คณะกรรมการตาม (1) จัดทำบัญชีรายชื่อนักศึกษาทุกคนที่เข้ารับการประเมินเรียงตามลำดับคะแนนที่ได้สูงสุดของแต่ละรางวัล ตามจำนวนรางวัลที่กำหนดไว้ พร้อมด้วยเหตุผลกรณีที่ไม่มีนักศึกษาเข้ารับการประเมินหรือผลการประเมินไม่ผ่านเกณฑ์ให้ระบุให้ชัดเจนว่า “ไม่มีนักศึกษาเข้ารับการประเมิน” หรือ “การประเมินไม่ผ่านเกณฑ์”
(3) ให้คณะกรรมการสรุปผลการประเมินตาม (2) โดยให้ประธานพร้อมด้วยกรรมการทุกคนลงนามในใบสรุปผลการประเมินผลงานของนักศึกษา เสนอต่อคณะกรรมการฝ่ายพัฒนาและนวัตกรรมอุดมศึกษา เพื่อนำเสนอขออนุมัติต่อคณะกรรมการบริหารของสมาคม ต่อไป



ผู้รับผิดชอบ

คณะกรรมการฝ่ายพัฒนาและนวัตกรรมอุดมศึกษา สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยฯ

นักศึกษาผู้ที่สมควรได้รับทุนจาก

“กองทุน เต็ม-ยรรยง วรากรวรวุฒิ”

เกณฑ์การพิจารณาคุณสมบัติ

1. เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 4 โดยไม่จำกัดสัญชาติ ที่กำลังศึกษาในระดับปริญญาตรีทางด้านบัญชี ทั้งหลักสูตรภาษาไทยและหลักสูตรนานาชาติ และได้ผ่านการศึกษาวิชาการสอบบัญชีมาแล้วอย่างน้อย 1 รายวิชา
2. คะแนนเฉลี่ยสะสม (GPA)
3. การเข้าร่วมกิจกรรมภายในมหาวิทยาลัย
4. หากเป็นผู้มีประสบการณ์ฝึกงานหรือปฎิบัติงานทางด้านการสอบบัญชีจะได้รับการพิจารณาเป็นกรณี พิเศษและถ้าฝึกงานสหกิจศึกษาต้องระบุให้ชัดเจนว่าเป็นด้านใด
5. การได้รับรางวัลในระดับชาติหรือนานาชาติ (หากเป็นรางวัลที่เกี่ยวข้องกับสาขาการบัญชี หรือการ ประยุกต์ใช้ทางการบัญชีจะได้รับการพิจารณาเป็นกรณีพิเศษ)
6. สถาบันเสนอชื่อผู้เข้ารับการคัดเลือกในนามสถาบันเพียง 1 คนเท่านั้น



เกณฑ์การตัดสิน

         เกณฑ์คุณสมบัติ                                                        น้ำหนักคะแนนในการพิจารณา
         1) ผลการเรียนในรายวิชาการสอบบัญชีเป็นหลัก                 คิดเป็นร้อยละ 40
         2) ผลการเรียนสะสม (GPA)                                                 คิดเป็นร้อยละ 20
         3) การเข้าร่วมกิจกรรม                                                         คิดเป็นร้อยละ 20
         4) การได้รับรางวัลในระดับชาติหรือนานาชาติ                    คิดเป็นร้อยละ 20



วิธีการคัดเลือก

1. สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ประชาสัมพันธ์โครงการคัดเลือกนักศึกษาผู้ที่สมควรได้รับทุนของ “กองทุนเต็ม-ยรรยง วรากรวรวุฒิ” ถึงสถาบันอุดมศึกษาเอกชนทุกแห่งที่เป็นสมาชิกของสมาคมฯ
2. ผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแต่ละสถาบันเสนอชื่อนักศึกษา พร้อมแนบแบบประวัติและผลงานของนักศึกษา ส่งมายังสมาคมฯ ภายในวันที่ 25 กันยายน 2564
3. เกณฑ์การตัดสินจะพิจารณาจากผลงานของผู้สมัครตามเกณฑ์คุณสมบัติที่กำหนดไว้
4. คณะกรรมการฝ่ายพัฒนาและนวัตกรรมอุดมศึกษา สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยฯ ทำหน้าที่พิจารณากลั่นกรองคุณสมบัติเบื้องต้นแล้วนำเสนอความเห็นผู้สมควรได้รับรางวัลต่อคณะกรรมการบริหารสมาคมฯ ภายในเดือนตุลาคม
5. ผลการตัดสินของคณะกรรมการบริหารสมาคมฯ ถือเป็นที่สิ้นสุด
6. สมาคมฯ อาจงดให้รางวัลหากผลการพิจารณาไม่มีผู้เหมาะสม



รางวัล

1. ใบประกาศเกียรติคุณ
2. ทุนการศึกษาจาก “กองทุน เต็ม-ยรรยง วรากรวรวุฒิ”

นักศึกษาผู้ที่สมควรได้รับทุนจาก

“สุรี บูรณธนิต”

คุณสมบัติของผู้สมัครขอรับทุน

1. เป็นนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2 ขึ้นไป โดยไม่จำกัดสัญชาติ ของสถาบันสมาชิกสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยฯ และมีผลงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปีการศึกษา
2. มีสุขภาพพลานามัยที่ดี
3. ผลการเรียนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.00
4. เป็นนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์
5. มีความสามารถด้านกีฬาที่โดดเด่น



วิธีการคัดเลือก

1. สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ประชาสัมพันธ์โครงการคัดเลือกนักศึกษาผู้ที่สมควรได้รับทุน “สุรี บูรณธนิต” ไปยังสถาบันอุดมศึกษาเอกชนทุกแห่งที่เป็นสมาชิกของสมาคมฯ
2. ผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแต่ละสถาบันเสนอชื่อนักศึกษา พร้อมแนบแบบประวัติและผลงานของนักศึกษามายังสมาคมฯ ภายในวันที่ 25 กันยายน 2564
3. เกณฑ์การตัดสินจะพิจารณาจากผลงานของผู้สมัครตามเกณฑ์คุณสมบัติที่กำหนดไว้
4. คณะกรรมการฝ่ายพัฒนาและนวัตกรรมอุดมศึกษา สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ทำหน้าที่ พิจารณากลั่นกรองคุณสมบัติเบื้องต้นแล้วนำเสนอความเห็นผู้สมควรได้รับรางวัลต่อคณะกรรมการบริหาร สมาคมฯ ภายในเดือนตุลาคม
5. ผลการตัดสินของคณะกรรมการบริหารสมาคมฯ ถือเป็นที่สิ้นสุด
6. สมาคมฯ อาจงดให้รางวัลหากผลการพิจารณาไม่มีผู้เหมาะสม
7. สถาบันเสนอชื่อผู้เข้ารับการคัดเลือกในนามสถาบันเพียง 1 คนเท่านั้น



รางวัล

1. ใบประกาศเกียรติคุณ
2. ทุนการศึกษาจากอาจารย์สุรี บูรณธนิต