ปริญญาสาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน ประเภทวิชาการ ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๖
สวัสดีค่ะ ท่านคณะผู้บริหาร คณาจารย์ และบุคลากรของมหาวิทยาลัยหาดใหญ่และ นักศึกษาทุกคนนะคะ ดิฉันขอขอบคุณและรู้สึกเป็นเกียรติอย่างมากที่ได้รับปริญญาดุษฎี บัณฑิตกิตติมศักดิ์ ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๖ และได้รับเชิญให้มาพูดในโอกาสที่สำคัญนี้
“มนุษย์ทุกคนมีสิทธิที่จะมีชีวิต” นั่นคือความจริง แต่ทว่าชีวิตของแต่ละคนจะเป็น อย่างไร จะทำเพื่อความสุขของตัวเองหรือจะแบ่งปันความสุขให้ผู้อื่นบ้าง เป็นเรื่องที่แต่ละ คนต้องกำหนดและทำด้วยตัวเองเท่านั้น ดังที่ดิฉันได้ลิขิตชีวิตของตัวเองให้เดินไปในเส้นทาง ที่อุทิศตนเองเพื่องานที่เป็นประโยชน์สาธารณะ เริ่มต้นที่องค์การเภสัชกรรมซึ่งเป็น หน่วยงานผลิตยาของรัฐบาล จากงานพัฒนาการผลิตยาชื่อสามัญในประเทศกว่าร้อย รายการ ทำให้คนไทยได้มียาที่มีความจำเป็นพื้นฐานที่มีคุณภาพและราคาถูกใช้ และการ พัฒนาให้มีการผลิตยาจากสมุนไพรเกือบร้อยรายการตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๐ จนขณะนี้ได้ ขยายงานไปในจุดต่างๆที่ต้องการความช่วยเหลือโดยไม่มีพรมแดนขอบเขตของประเทศ
การทำงานตลอดชีวิตของดิฉัน แน่นอนที่สุดว่าต้องพบอุปสรรคมากมาย ต้องใช้พลัง ใจที่สูงมากที่จะผ่านพ้นวิกฤติต่างๆได้ สิ่งที่ทำให้ดิฉันสามารถทำได้อย่างดียิ่ง เป็นเพราะ ดิฉันมีความศรัทธาอย่างแรงกล้าต่อการอุทิศตนเพื่อสิ่งที่ถูกต้องดีงาม ทำให้ไม่มองที่ปัญหาที่ อยู่รอบตัว แต่มองเพียงสิ่งที่กำลังทำอยู่เท่านั้น ดิฉันไม่เคยลืมคำสอนของคุณยายจนทุก วันนี้ “เราต้องรู้จักแบ่งปันช่วยเหลือผู้อื่นถ้าเรามีโอกาส ในโลกนี้ยังมีคนจนด้อยโอกาสอยู่ เยอะ หากวันใดลูกอยู่ในสถานะที่จะช่วยเขาได้ อย่าปล่อยให้โอกาสนั้นสูญเสียไป”
๑๒ ปี ที่ดิฉันไปทำงาน ณ ประเทศที่ยากจนของทวีปแอฟริกา ซึ่งประชากรมีอายุ เฉลี่ยเพียง ๓๗ ปีเท่านั้น ส่วนใหญ่ตายด้วยโรคมาลาเรียและโรคเอดส์ ทวีปที่มีข้อมูลว่าร้อย ละ ๙๐ ของประชากรเอดส์ของโลกอยู่ที่นี่ ดิฉันผจญกับความยากลำบากนานาประการ
ตอนนี้ในเมื่อเรามีอุดมคติพจน์ให้กับพวกท่านแล้ว ก็ขอฝากนิดนึงว่า มนุษยสัมพันธ์มันสำเร็จได้ทุกอย่าง ถ้าคุณมีมนุษยสัมพันธ์ ในการบริหารงานก็เช่นเดียวกัน ถ้าคุณคิดว่าคุณเป็นเจ้านายสั่งลูกน้องได้ แล้วพูดจาไม่ดี เขาทำ แต่ก็ไม่เต็มใจ ธุรกิจของคุณไม่เจริญ ไม่สามารถที่จะก้าวไปสู่จุดหมายได้ เพราะฉะนั้นมนุษยสัมพันธ์นี่สำคัญ ยกตัวอย่าง อาจารย์ลักขณาไปกู้เงินBank แล้วเราอาศัยมนุษยสัมพันธ์ แล้วก็ต้องมีเครดิตด้วย ไม่ใช่มนุษยสัมพันธ์ไปกู้เงิน 200 ล้าน แล้วเขาจะให้ ถ้ามีเงิน 200 ล้าน ไม่มีมนุษยสัมพันธ์ พูดจาไม่ดี เขาก็ไม่ให้ แต่ถ้าไปกู้เงิน แล้วเราก็มีมนุษยสัมพันธ์ แล้วเรามีเครดิตดี เขาไปเช็คเครดิตบูโรและมีมนุษยสัมพันธ์ดี บางทีมีเครดิตบูโร มีเงินพร้อมที่จะให้ดอกเบี้ย แต่ไม่มีความสำเร็จ ธุรกิจคุณไม่เกิด เพราะฉะนั้นขอให้บัณฑิตในวันนี้ได้ตระหนักในสิ่งที่เป็นมนุษยสัมพันธ์ บุคลิกก็สำคัญด้วย ถ้าคุณบุคลิกไม่ดี ไม่ใช่ว่าคนหน้าตาไม่ดีแล้วจะไม่สำเร็จ คือ แต่งตัวให้เรียบร้อย พูดจาให้ดี อะไรก็ตามที่คุณมีความรู้คุณเอาออกมาให้หมด สร้างความเชื่อถือให้กับเขา คุณก็จะประสบความสำเร็จ
ตั้งแต่การเดินทางที่ทุรกันดาร ความเป็นอยู่ที่ไม่สะดวกสบาย หลายครั้งและหลายเวลาที่ไม่ มีอาหารให้รับประทาน และต้องเสี่ยงภัยจากการสู้รบของสงครามกลางเมืองที่เกิดขึ้น เหมือนไม่มีวันจบสิ้น เพียงเพราะดิฉันเชื่อว่า “มนุษย์ทุกคนมีสิทธิที่จะมีชีวิต เป็นสิทธิ มนุษยชนขั้นพื้นฐาน” ดังที่ได้บอกแก่สื่อจากประเทศเยอรมันนีที่ไปถ่ายทำภาพยนตร์ชีวิต การทำงานของดิฉันที่ทวีปแอฟริกาเมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๙ ซึ่งทีมงานได้นำคำพูดนี้ไปตั้งเป็นชื่อ ของสารคดีนี้ว่า “A Right to Live"
ดิฉันตั้งคำถามต่อสังคมโลกว่า ทำไมคนแอฟริกันต้องตายด้วยยโรคที่มียารักษา เพียง เพราะไม่มีเงินจะซื้อยาที่ราคาสูงเกินที่ควรจะเป็น ทำไมยาที่ดีที่ช่วยชีวิตมนุษย์ ได้ จึงมีค่า เพียงสำหรับช่วยมนุษย์ที่มีอำนาจเงิน มนุษย์ที่ยากจนไม่มีสิทธิที่จะมีชีวิตเลยหรือไร และ ดิฉันเชื่อว่าด้วยความรู้และประสบการณ์การผลิตยาต้านเอดส์ที่ดิฉันมี คนด้อยโอกาสจะมี ชีวิตอยู่ได้เหมือนคนอื่นๆที่มากโอกาสทางสังคม
ดังนั้นหลังจากที่ดิฉันได้ฝ่าฟันอุปสรรคที่แสนสาหัสจนสามารถวางรากฐานการผลิต ยาต้านเอดส์ให้ประเทศไทยอย่างมั่นคงแล้ว ในปลายปี ๒๕๔๕ เมื่ออายุ ๕๐ ปี ดิฉันจึง ตัดสินใจลาออกจากองค์การเภสัชกรรมในตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา ละ ทิ้งทุกสิ่งไว้ที่เมืองไทย “ลาภ ยศ สรรเสริญ ครอบครัวและผองเพื่อน” เดินทางโดยลำพังไป ยังประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยต้องโก เริ่มต้นการถ่ายทอดความรู้การผลิตยาต้านเอตส์ และยารักษาโรคมาลาเรียในทวีปแอฟริกาด้วยทุนส่วนตัว และการประสานจัดการในนาม ของดิฉันเองไม่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลใดหรือองค์กรใดทั้งสิ้น และไม่มี “อำนาจมืดหรืออำนาจ สว่าง” ใดๆจะมาขวางกั้นได้ ดิฉันเลือกที่จะสอนให้ชาวแอฟริกันสามารถผลิตยาด้วยตนเอง เป็น แทนการนำยาราคาถูกจากประเทศไทยไปขายให้อย่างที่ผู้มีอำนาจของประเทศไทยใน เวลานั้นต้องการ ติฉันบอกพวกเขาว่า “ฉันต้องการให้พวกเขาทำเอง ให้พึ่งตนเอง ฉันมี ความเชื่อว่า ถ้าเขาอยากกินปลา เราก็ควรจะสอนเขาตกปลาเอง ไม่ใช่เอาปลาไปให้เขากิน เพราะไม่อย่างนั้น เขาจะไม่มีวันพึ่งตนเองได้”
ดิฉันทำในสิ่งที่ทวนกระแสหลักของโลก กระแสทุนนิยมของโลกธุรกิจที่มุ่งหวังกำไร สูงที่สุด ยาที่ดิฉันผลิตมีราคาถูกกว่าราคายาในท้องตลาดหลายเท่า ดิฉันสร้างความสั่นคลอน หวั่นไหวต่อบริษัทยาข้ามชาติที่ต้องสูญเสียรายได้จากผลประโยชน์ที่ได้มาอย่างไม่เป็นธรรม และบนความเป็นและความตายของผู้คน ดิฉันได้รับเสียงปรบมือกึกก้องจากผู้ยากไร้ทั่วโลก แต่ได้รับเสียงก่นด่าขู่อาฆาตจากกลุ่มทุนข้ามชาติที่ตระเวนไปทั่วโลกเพื่อสูบเลือดเนื้อจาก เพื่อนมนุษย์ด้วยกัน
นับตั้งแต่วันแรกที่ดิฉันเดินทางไปทวีปแอฟริกา ดิฉันมองไม่เห็นว่า คำตอบของสิ่งที่ ดิฉันทำจะเป็นเช่นไร ดิฉันอาจล้มเหลว หรือดิฉันอาจเสียชีวิตก่อนที่จะได้เริ่มต้น ดิฉันรู้เพียง ว่าดิฉันต้องทำ ทำในสิ่งที่ถูกต้อง ทำให้ดีที่สุด เท่านั้นเอง จนกระทั่งถึงวันนี้ วันที่คำตอบได้ ปรากฏอย่างชัดเจน ดิฉันตั้งโรงงานผลิตยาต้านเอดส์และยารักษาโรคมาลาเรียในทวีป แอฟริกาสำเร็จแล้วใน ๑๗ ประเทศ ซึ่งเป็นประเทศที่ติดอันดับต้นของประเทศยากจนที่สุด ของโลก มีผู้ได้รับยาและรอดชีวิตเป็นแสนเป็นล้านคน ผู้คนหลากหลายที่รับทราบถึงผลงาน ของดิฉันจากสื่อต่างๆ รวมทั้งจากการอ่านหนังสือเภสัชกรยิปซี ต่างพูดู เป็นเสียงเดียวกันว่า ดิฉันทำได้อย่างไรกัน งานที่ต้องใช้ความมุ่งมั่นและความพยายามที่สูงมาก อีกทั้งต้องอาศัย ความมีระเบียบวินัยและความกล้าหาญเหนือธรรมดา ซึ่งยากที่คนทั่วไปที่ยังติดยึดใน ความสุขสบายและการมองเห็นแต่ชีวิตของตัวเองจะทำได้ ดิฉันตอบว่า “โชคดีที่ฉันเป็นคน ไม่กลัวอะไรทั้งโรคภัยไข้เจ็บและคน ฉันพยายามมองแค่หนึ่งเมตร ไม่มองไกลกว่านั้น ถ้ามัว มองแต่ปัญหาหรืออุปสรรค ก็ทำอะไรไม่ได้ เมื่อวันนี้ไม่สำเร็จ ก็ไม่เสียความมั่นใจ ไม่ยอมแพ้ ทำใหม่ลองใหม่ หาจุดผิดพลาด ปรับสูตรใหม่อยู่อย่างนั้น”
สื่อมวลชนในเมืองไทยขนานนามดิฉันว่า “เภสัชกรยิปซี” และ “นางฟ้านิร นาม” ด้วยดิฉันเป็นเภสัชกรผู้เร่ร่อนไปโดยลำพัง ณ "ดินแดนแห่งความหิวโหยและสงคราม กลางเมือง” ทวีปแอฟริกา อุทิศชีวิตของตนเพื่อต่อชีวิตให้คนที่ด้อยโอกาสและถูกเหยียบย่ำ บนโลกใบนี้ ผู้คนที่ถูกโลกลืมและทอดทิ้ง ชาวแอฟริกัน เรียกดิฉันว่า “ซิมบาจิเค” แปลว่า “นางสิงห์” ด้วยความเข้มแข็ง กล้าหาญและห้าวหาญของดิฉัน
ดิฉันอยากจะฝากข้อคิดและแนวทางการดำรงชีวิตจากประสบการณ์ของตัวเอง ที่ หวังว่าจะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันและสร้างความเข้มแข็งให้กับทุกท่านให้สามารถก้าวข้าม อุปสรรคและนำพาตนเอง ครอบครัว และชุมชนไปด้วยความปลอดภัยและมีความสุข
ตลอดระยะเวลาการทำงานด้านสาธารณสุขและด้านมนุษยธรรมในประเทศไทย ใน ภูมิภาคเอเชีย แอฟริกา และลาตินอเมริกา กว่า ๔๐ ปี ดิฉันเชื่อมั่นในหลักปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียง และได้ดำเนินชีวิตและทำงานตามแนวทาง “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” เราทุกคนคงได้ รับทราบเกี่ยวกับการพัฒนาตามแนวทางของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง แต่สิ่งที่สำคัญ คือ การปฏิบัติ ทดลอง ทดสอบ เรียนรู้ ปรับแก้ไข สั่งสมประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญและน้อม นำมาเป็นบทเรียน เพื่อพัฒนาตนให้เป็นคนที่มีความสามารถทั้งทางสติปัญญา (IQ) และ อารมณ์ (EQ)
ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๒ ดิฉันได้เดินทางไปทำงานกับชุมชนในพื้นที่ห่างไกลในสามจังหวัด ชายแดนภาคใต้ จ. ยะลา จ. ปัตตานี และ จ.นราธิวาส เพื่อสร้างอาชีพ รายได้ และสุขภาพ ที่ดี โดยถ่ายทอดองค์ความรู้และฝึกอบรมการเพาะปลูกพืชสมุนไพร แปรรูปเป็นวัตถุดิบ และนำไปผลิตยาสมุนไพรในรูปแบบที่ทันสมัยและบริโภคได้ง่าย เช่น ยาแคปซูลและน้ำมัน นวด รวมทั้งการวิเคราะห์และควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ให้ได้ยาสมุนไพรที่ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ ดิฉันได้ทำงานกับกลุ่มคนต่างๆ อาทิ สตรีชาวมุสลิม ผู้นำศาสนา ผู้นำ ชุมชน ผู้แทนหน่วยงานท้องถิ่น บุคลากรของโรงพยาบาล สาธารณสุขจังหวัด นักธุรกิจ บริษัทเอกชน วิสาหกิจชุมชน รัฐวิสาหกิจ สื่อมวลชน และคนในท้องถิ่น การทำงานกับ บุคคลจากสาขาอาชีพต่างๆ ที่มีระดับการศึกษา ภูมิหลัง ความคิด และความต้องการที่ หลากหลายและแตกต่างกัน จำเป็นต้องอาศัยความอดทนและความเข้าใจ เปิดใจรับฟัง ทัศนคติและความคิดเห็นต่างๆ ที่อาจจะไม่เหมือนของตัวเรา การยอมรับพวกเขาจึงจะ สามารถเข้าถึงและได้รับการยอมรับจากพวกเขา และสามารถทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ได้
ดิฉันมีความเห็นว่าประเทศไทยจะเข้มแข็ง ก็ต่อเมื่อชุมชนและคนในระดับรากหญ้า สามารถพึ่งพาตนเองได้ มีความภูมิใจในตนเองและท้องถิ่นของตน และร่วมมือกันพัฒนาท้องถิ่นให้เข้มแข็ง (Empowerment, Dignity and Equality) ในขณะเดียวกัน เราต้องไม่ทอดทิ้งคนยากไร้ คนที่ด้อยโอกาสและคนที่อยู่ตามชายขอบ โดยตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๖๑ ดิฉันได้ดำเนินโครงการฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยยาเสพติดซึ่งเป็นเยาวชน และฝึกสอนการปลูกพืชสมุนไพรและการแปรรูปสมุนไพรให้แก่เยาวชนเหล่านี้ที่จะกลับไปใช้ชีวิตในชุมชนของตนให้สามารถประกอบอาชีพและสร้างรายได้ให้แก่ตนเองและครอบครัว เป็นการคืนคนดีสู่สังคม
โครงการและงานต่าง ๆ ไม่สามารถทำเพียงลำพังได้ ดิฉันได้รับความร่วมมือร่วมใจ และได้รับรู้ถึงความอุตสาหะ เสียสละ และอุทิศตนของกลุ่มคนที่ร่วมทำงานด้วยกัน บางครั้ง มีความผิดพลาดเกิดขึ้น ต้องใช้เวลาและความอดทนในการแก้ไขปัญหา ระดมสมองและใช้ ความพยายามร่วมกันจึงจะหาทางออก และพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส จนประสบความสำเร็จ ได้ นี่คือ “วิชาชีวิต” ที่ทุกคนคงต้องได้สัมผัสต่อไปตามวิถีของแต่ละคน
ดิฉันขอใช้โอกาสนี้ ขอให้ทุกคนตั้งใจทำหน้าที่ของตนอย่างดีที่สุด ทำความดีทุกครั้ง เมื่อมีโอกาส ขออาราธนาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ท่านศรัทยาและนับถือ อวยพรให้ทุกคนมีความสุข มี ความปลอดภัย และสมหวังในความปรารถนา และขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนค่ะ
ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เภสัชกรหญิง กฤษณา ไกรสินธุ์
๑๘ / ๘ / ๖๗
Back