•  
  •  
  •  
 
   
   
จาก "วิทยาลัยเมืองหาดใหญ่" สู่การเป็น "มหาวิทยาลัยหาดใหญ่"
   
 
"วิทยาลัยเมืองหาดใหญ่" ได้รับการเปลี่ยนประเภทเป็น "มหาวิทยาลัยหาดใหญ่" หรือ "Hatyai  University" อักษรย่อ "HU"
เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ.2546 โดยใช้ระยะเวลาเพียงแค่ 6 ปี ได้ก่อนที่กำหนดไว้ ตั้งเป้าหมายไว้ 1 ปี นับเป็นก้าวสำคัญที่ต้องจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ ทั้งนี้โดยได้รับ คำแนะนำจาก ศ.ดร.เสริมศักดิ์  วิศาลาภรณ์ และ ผอ.อรุณี  ม่วงน้อยเจริญ ซึ่งถือเป็นบทพิสูจน์ศักยภาพของมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ในการบริหารจัดการ ทุก ๆ ด้าน ภายใต้การกำกับ ดูแลอย่างใกล้ชิดของท่านอาจารย์ประณีต  ดิษยะศริน ผู้รับใบอนุญาต
 
หากจะมองย้อนกลับไป ภาพสะท้อนประการหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงความเติบโตของมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ได้อย่างชัดเจนก็คือ ปีแรกของการก่อตั้ง
วิทยาลัยเมืองหาดใหญ่ ในปี พ.ศ.2540 นั้น มีนักศึกษาเพียง 180 คน และในปี พ.ศ.2541 มีนักศึกษาเพิ่มจำนวนขึ้นเป็น 900 คน ปี พ.ศ.2543 เพิ่มเป็น 1,800 คน จนกระทั่งในปี พ.ศ.2546 ซึ่งเป็นปีที่มีการเปลี่ยนประเภทเป็นมหาวิทยาลัย มีจำนวนนักศึกษาทั้งสิ้น 4,200 คน และในปีต่อๆมาก็มีพัฒนาการที่ดีขึ้นตามลำดับ
 
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมานั้น ท่านอาจารย์ประณีต  ดิษยะศริน เป็นผู้มีส่วนสำคัญยิ่งในการผลักดันให้มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ดำเนินการตามภารกิจสำคัญ
ที่ได้กำหนดไว้ในแผนยุทธศาสตร์หลักของมหาวิทยาลัย เพื่อเตรียมความพร้อมในการเปลี่ยนประเภทจาก "วิทยาลัย" เป็น "มหาวิทยาลัย" จนกระทั่งประสบความ สำเร็จ เป็นอย่างดี มีการบริหารจัดการอย่างเป็นขั้นเป็นตอน โดยได้รับคำแนะนำและการช่วยเหลือจาก ท่าน ดร.รุ่ง  แก้วแดง และท่านนิพนธ์  บุญญภัทโร นายกสภา มหาวิทยาลัย มาโดยตลอด
 
หลังจากที่ได้รับการอนุมัติจากทบวงมหาวิทยาลัยผ่านเกณฑ์มาตรฐานการจัดตั้งเป็นมหาวิทยาลัยเอกชน ในปีพ.ศ.2547 คณะผู้บริหารนำโดย
ท่านอาจารย์ประณีต  ดิษยะศริน จึงได้จัดงานเฉลิมฉลองมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ขึ้นอย่างเป็นทางการ โดยมีวิสัยทัศน์ในครั้งนั้นว่า "จะมุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยเอกชน ชั้นนำ 10 อันดับแรก(Top Ten)ของเมืองไทย"
 
ในปีเดียวกันนั้น ท่านอาจารย์ประณีต  ดิษยะศริน ก็ได้รับพระราชทานรางวัลเสาเสมาธรรมจักร จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
จากงานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนา เนื่องในเทศกาลวัน    วิสาขบูชา ประจำปี 2547 ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง กรุงเทพฯ ในวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ.2547
 
เห็นได้ว่ามหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ภายใต้การบริหารจัดการและดูแลในทุกๆ ส่วนงานอย่างใกล้ชิดจากท่านอาจารย์ประณีต  ดิษยะศริน ได้เติบโต
เจริญก้าวหน้ามาอย่างต่อเนื่อง เป็นระยะเวลายาวนานกว่าหนึ่งทศวรรษและจะยังคงพัฒนาก้าวหน้าต่อไป ด้วยปณิธานอันแน่วแน่ของท่านอาจารย์ ดังที่ท่านกล่าวว่า
   
 
"มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ในวันนี้ พัฒนาขึ้นทุกด้าน ไม่ว่าจะด้านภูมิทัศน์ สิ่งแวดล้อม สถาปัตยกรรม อาคารสถานที่ สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ทั้งวิทยบริการ เพื่อให้นักศึกษาที่เข้ามาเรียน ได้เรียนรู้ทุกสิ่งทุกอย่างไม่แพ้คนที่อยู่ในส่วนกลาง"
   
 
จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ในวันนี้ จะเติบโตและขยายสาขาเพิ่มขึ้นโดยในปัจจุบันได้เปิดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีถึง 6 คณะ
15 สาขา และปริญญาโท 3 สาขา มีจำนวนนักศึกษาทั้งสิ้น 5,156 คน (ข้อมูลวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2553) และนอกจากนี้ยังมีโครงการที่จะเปิดสาขาวิชาอื่น ๆ เพิ่มเติมอีก อาทิ ดนตรีสมัยนิยม (Pop Music) ตามปัจจัยและความต้องการของตลาดแรงงาน เพื่อให้ทันต่อสภาวการณ์ของโลกที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
 
นอกเหนือจากการพัฒนามหาวิทยาลัยหาดใหญ่ในทุกๆ ด้านแล้ว ท่านอาจารย์ประณีต  ดิษยะศริน ยังมีกิจกรรมอื่นๆอีกนานัปการ ทั้งทางด้านการส่งเสริม
พระพุทธศาสนา และโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับงานทางด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ด้วยจิตวิญญาณที่ตระหนักและหวงแหนในศิลปวัฒนธรรมของชาติ ท่านจึงได้ให้ การสนับสนุน และส่งเสริมกิจกรรมทางด้านดนตรีไทย นาฏศิลป์ ศิลปกรรม และศิลปวัฒนธรรมแขนงต่าง ๆ อย่างเต็มที่
  อีกทั้งท่านอาจารย์ประณีต  ดิษยะศริน มีปณิธานอย่างแรงกล้าที่จะสร้าง "อาคารศูนย์ประณีตศิลป์" และ"พิพิธภัณฑ์เมืองหาดใหญ่" ให้เป็นศูนย์
การเรียนรู้ของชุมชน โดยเปิดให้ผู้สนใจได้เข้าเยี่ยมชมโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ซึ่งผู้ที่มีโอกาสได้เข้าเยี่ยมชมต่างรู้สึกประทับใจ ตื่นตาตื่นใจ และปลาบปลื้มใจไปกับแนวความคิดในการจัดทำ ของท่านอาจารย์ประณีต  ดิษยะศริน ในครั้งนี้
 
ความสำเร็จในด้านต่างๆที่เกิดขึ้นนี้ ท่านอาจารย์ประณีต  ดิษยะศริน เป็นผู้ดำริริเริ่มและเป็นผู้นำอย่างแข็งขัน โดยมีบุตรสาวและบุตรชายของท่าน
ซึ่งต่างเป็นผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์ มีความรู้และความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาต่างๆ สนับสนุนและอยู่เคียงข้าง นำพาให้มหาวิทยาลัยหาดใหญ่พัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง จนกระทั่งถึงปัจจุบัน
  นอกจากที่ท่านอาจารย์ประณีต  ดิษยะศริน ได้เสียสละในการสร้างทำสิ่งต่างๆ ให้เกิดประโยชน์แก่สังคมโดยไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยแล้ว ท่านยังได้แสดงออก
ถึงความห่วงใยต่อผู้อาวุโสในท้องถิ่น ซึ่งได้อุทิศตนบำเพ็ญประโยชน์ให้แก่สังคมมาตลอดระยะเวลาอันยาวนาน ด้วยการจัดงาน “มุทิตาจิต 10 ปูชนียบุคคลขึ้น” เมื่อ
วันที่ 12 เมษายน พ.ศ.2552 ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งลูกหลานของผู้อาวุโสเหล่านั้นได้มารดน้ำขอพรกันอย่างถ้วนหน้า ในการนี้ พล.อ.อ.ประหยัด  ดิษยะศริน หนึ่งในผู้อาวุโส ที่ได้กรุณาเสียสละเวลาและให้เกียรติมาร่วมงานในครั้งนี้ได้แสดงความรู้สึกต่อการจัดงานไว้ว่า
   
 
"ครูติดภารกิจทางกรุงเทพฯ ไม่สามารถเข้าร่วมพิธีในวันนี้ได้ จึงขอฝากเตือนสติ เตือนใจวันเฉลิมพระชนมพรรษา 12 สิงหาคม ลูกๆ ทุกคนว่า ในฐานะที่เป็นคนไทย ก็คือ การเทิดทูนไว้เหนือเกล้า แด่แม่ของแผ่นดิน ต้องการให้ลูกทุกๆ คน เป็นพลเมืองดี ไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับสังคม และบำเพ็ญประโยชน์ต่อส่วนรวม ... "สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ" สำหรับแม่บังเกิดเกล้า แม่คือ "สุดบูชาของลูก" ลูกคือ "ดวงใจ" ของแม่ "ความหวัง  ความสุข" ของแม่คือ "ความสำเร็จ ความสุข" ของลูกฉะนั้นผู้เป็นลูก จะต้องตั้งใจ ตระหนักในหน้าที่ของตน ประพฤติปฏิบัติตนในทางที่ ี่ถูกต้อง เป็นคนดี มีความกตัญญู รู้คุณ ให้กำลังใจ ให้ความรัก ความอบอุ่น และเลี้ยงดูแม่ ถือว่าลูกผู้นั้น เป็นลูกที่น่าชื่นชม น่ายินดี และจะมีความเจริญรุ่งเรืองแก่ตนเอง"
   
 
ขอให้ลูกๆ ทุกคน จงมีความสุข – ความสำเร็จ
 
อาจารย์ประณีต  ดิษยะศริน
 
10 ส.ค. 52